ต้องมีการให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ
Green
Productivity โดยสื่อสารให้เห็นว่า GP นั้นไม่ได้สร้างภาระให้กับผู้ประกอบการ
แต่จะเป็นกลยุทธ์ของผู้ประกอบการในการเพิ่มผลผลิตและการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อม
เพื่อการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจโดยรวม โดยการนำเอาเทคโนโลยีและการจัดการที่เหมาะสม
มาใช้เพื่อการผลิตสินค้าและการบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มผลกำไรให้แก่สถานประกอบการ จากการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและการรักษาสภาพแวดล้อมไปพร้อมๆกัน
ต้องชี้ให้เห็นว่า GP ไม่ใช่เรื่องใหม่หรือเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจใหม่
แต่เป็นเรื่องเสมือนแนวความคิดในการบริหารจัดการและมีการเลือกใช้เครื่องมือต่าง ๆ
ในการบริหารจัดการที่เรามีการใช้อยู่บ่อยๆ แล้ว รวมไปถึงมีการใช้เครื่องมือใหม่ๆ
ที่มีประสิทธิภาพมาช่วยเสริมในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และการเพิ่มผลผลิตโดยรวม
หรืออาจกล่าวได้ว่า GP เป็น Tools ใน Tools box หรือกล่องที่มีเครื่องมือสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
และการเพิ่มผลผลิตโดยไม่ทำลายและรักษาสิ่งแวดล้อม อีกทั้งเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตโดย
GP จะเน้นขั้นตอนในการแก้ไขปัญหา
โดยจะมีแนวทางที่เหมาะสมและพิจารณาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย ซึ่งจะเป็นเครื่องมือที่ทำให้องค์กรเติบโตอย่างยั่งยืน
สามารถแข่งขันได้ทั้งตลาดในและตลาดต่างประเทศ ซึ่งในปัจจุบันมีการแข่งขันกันสูง
มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์และคุณภาพของสินค้าอย่างต่อเนื่อง
รวมทั้งการบริหารต้นทุนให้ต่ำ
และต้องปฎิบัติตามมาตรฐานด้านสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม
เพื่อสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขันโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการส่งออกที่กำลังประสบปัญหากฎระเบียบที่เข้มงวดจากประเทศผู้นำเข้า
นอกจากนั้นยังมีกระแสตื่นตัวด้านสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคที่เป็นตัวกดดันอีกด้วย
จารีนทร์ เอี่ยมสุภาษิต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น